การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความหมายของการสื่อสาร คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication)หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร บริบททางการสื่อสารความสำคัญของการสื่อสาร การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
- การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
- การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
- การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบของการสื่อสาร องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ การสื่อสาร องค์ประกอบ เพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ผู้พูด ผู้เขียน กวี ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ โฆษกรัฐบาล องค์การ สถาบัน สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ หน่วยงานของรัฐ บริษัท สถาบันสื่อมวลชน เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ส่งสาร
- เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ
- เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
- เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
- เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
- เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร
2. สาร (message) หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ การสื่อสารมีอะไรบ้าง และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่าน ท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น
- รหัสสาร (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ
- เนื้อหาของสาร (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน
- การจัดสาร (message treatment) หมายถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม
3. สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป ดังนี้
เกณฑ์การแบ่ง ประเภทของสื่อ
ตัวอย่าง
- แบ่งตามวิธีการเข้า และถอดรหัส
- สื่อวัจนะ (verbal)
- สื่ออวัจนะ (nonverbal)
- คำพูด ตัวเลข
- สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง
- หนังสือพิมพ์ รูปภาพ
- แบ่งตามประสาทการรับรู้
- สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น
- สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง
- สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง
- นิตยสาร
- เทป วิทยุ
- โทรทัศน์
- ภาพยนตร์
- วีดิทัศน์
- แบ่งตามระดับการสื่อสาร หรือจำนวนผู้รับสาร
- สื่อระหว่างบุคคล
- สื่อในกลุ่ม
- สื่อสารมวลชน
- โทรศัพท์
- จดหมาย
- ไมโครโฟน
- โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
- แบ่งตามยุคสมัย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร
- สื่อดั้งเดิม
- สื่อร่วมสมัย
- สื่ออนาคต
- เสียงกลอง ควันไฟ
- โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล
- วีดิโอเทกซ์
- แบ่งตามลักษณะของสื่อ
- สื่อธรรมชาติ
- สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล
- สื่อสิ่งพิมพ์
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์
- สื่อระคน
- อากาศ แสง เสียง
- คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก
- หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว
- วิทยุ วีดิทัศน์
- ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน
- หนังสือ ใบข่อย
- แบ่งตามการใช้งาน
- สื่อสำหรับงานทั่วไป
- สื่อเฉพาะกิจ
- จดหมายเวียน โทรศัพท์
- วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์
- แบ่งตามการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร
- สื่อร้อน
- สื่อเย็น
- การพูด
- การอ่าน
4. ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เช่น ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ฟังรายการวิทยุ กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
หลักในการสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร หลักการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ดังนี้
- ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร
- ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร
- คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น หลักการสื่อสาร
- การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
- ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
- คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
- คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ทักษะการสื่อสาร วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้
- เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
- เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
- เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
- เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
- เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
- เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
ประเภทของการสื่อสาร
การจำแนกประเภทของการสื่อสาร มีผู้จำแนกไว้หลาย ๆ ประเภท โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ ซึ่งสรุปได้ตามตารางดังนี้
เกณฑ์การแบ่ง การสื่อสารที่ดี ประเภทของการสื่อสาร
ตัวอย่าง
- จำนวนผู้ทำการสื่อสาร
- การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)
- การพูดกับตัวเอง
- การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ
- การร้องเพลงฟังเอง
- การคิดถึงงานที่จะทำ เป็นต้น
- การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication)
- การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
- การพูดคุย
- การเขียนจดหมาย
- การโทรศัพท์
- การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
- การสื่อสารกลุ่มใหญ่
(large group communication)- การอภิปรายในหอประชุม
- การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
- การปราศรัยในงานสังคม
- การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
- การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม เป็นต้น
- การสื่อสารในองค์กร (organizational communication)
- การสื่อสารในบริษัท
- การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
- การสื่อสารในโรงงาน
- การสื่อสารของธนาคาร
เป็นต้น
- การสื่อสารมวลชน
(mass communication) การสื่อสารที่ผ่านสื่อเหล่านี้ คือ- หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- ภาพยนตร์
เป็นต้น
- การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)
- การเห็นหน้ากัน
- การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(face to face communication)- การสนทนาต่อหน้ากัน
- การประชุมสัมมนา
- การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
- การเรียนการสอนในชั้นเรียน
- การประชุมกลุ่มย่อย
เป็นต้น
- การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า
(interposed communication)- เอกสารการสื่อสารที่ผ่าน
สื่อมวลชนทุกชนิด คือ - หนังสือพิมพ์
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
- จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
- อินเตอร์เน็ต
เป็นต้น
- เอกสารการสื่อสารที่ผ่าน
- การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
- ความสามารถในการโต้ตอบ
- การสื่อสารทางเดียว
(one-way communication) การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด คือ- วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
- โทรเลข/โทรสาร
- ภาพยนตร์
เป็นต้น
- การสื่อสารสองทาง
(two-way communication)- การสื่อสารระหว่างบุคคล
- การสื่อสารในกลุ่ม
- การพูดคุย / การสนทนา เป็นต้น
- การสื่อสารทางเดียว
- ความแตกต่างระหว่าง
ผู้รับสารและผู้ส่งสาร- การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial communication)
- ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
- คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน เป็นต้น
- การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication)
- การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ
- ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา เป็นต้น
- การสื่อสารระหว่างประเทศ (international communication)
- การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
- การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล เป็นต้น
- การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial communication)
- การใช้ภาษา
- การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)
- การพูด, การบรรยาย
- การเขียนจดหมาย, บทความ
เป็นต้น
- การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal communication)
- การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
- อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษา
และปริภาษา เป็นต้น
- การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
- ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
- ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
- ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
- ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
- ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
- ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
- อุปสรรคที่เกิดจากสาร
- สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
- สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
- สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
- สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
- อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
- การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
- การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
- การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
- อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
- ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
- ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
- ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
- ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
- ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร