วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร การสื่อสารเป็นกระบวนการที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของเรา มันเป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน วัตถุประสงค์ของการสื่อสารถือเป็นเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่เราต้องการที่จะบรรลุผลในกระบวนการสื่อสารที่เรามีกับผู้อื่น ดังนั้น เรามาสำรวจวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่สำคัญได้แก่สามเรื่องหลัก คือการสื่อสารเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น เพื่อการแสดงออกหรือการสื่อสารประสบการณ์ และเพื่อการสื่อสารเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ องค์ประกอบของการสื่อสาร การสื่อสารเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นเป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้ผู้สื่อสารเข้าใจสิ่งที่ถูกสื่อสารออกไป สารสื่อสารที่ถูกส่งไปจะต้องถูกเลือกให้เหมาะสมกับผู้รับเพื่อให้ความหมายของสารสื่อสารถูกตีความได้อย่างถูกต้องและเข้าใจได้ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
การสื่อสารเพื่อการแสดงออกหรือการสื่อสารประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพในจิตใจของผู้รับสารสื่อสาร สื่อที่ถูกใช้ในกระบวนการนี้อาจเป็นคำพูด ภาพถ่าย วีดีโอ หรือสื่อที่สร้างความรู้สึกและประสบการณ์ตามที่ผู้สื่อสารต้องการ การสื่อสารเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสื่อสารที่สร้างความสัมพันธ์อาจเป็นการสื่อสารทางภาษาซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ หลักการสื่อสาร การใช้ภาษาที่เหมาะสมและสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน การสื่อสารอาจเกิดขึ้นด้วยภาษาทั้งพูดและการใช้ภาษาบอดี้ เช่น ภาษามือหรือภาษากาย วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นการช่วยให้เราสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใจกันได้ดี การเข้าใจและการสื่อสารที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ข้อสังเกตที่สำคัญคือการต้องเป็นอิสระในการสื่อสารและเปิดเผยความรู้สึก และใช้สื่อที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้รับสารสื่อสารเข้าใจมุมมองและตรรกศาสตร์ที่ผู้สื่อสารต้องการสื่อสารออกไป ดังนั้นการทราบวัตถุประสงค์ของการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ในการปรับปรุงกระบวนการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิตทั้งบุคคลและองค์กร
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ความหมายของการสื่อสาร
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย (Communication) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า (Communius) หมายถึง “ความเหมือนกัน” หรือ “ความร่วมกัน” เมื่อมีการสื่อสารจะมีการพยายามสร้าง ความเหมือนกันหรือร่วมกันให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร มีผู้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้
หลากหลาย ดังนี้
- ชแรมม์ (Schramm, 1973 : 3) ได้สรุปความหมายของการสื่อสารไว้ว่า การสื่อสารเป็นความพยายามถ่ายทอดข้อมูล (Information) ความคิด (Idea) เจตคติ (Attitudes) ไปยังบุคคลอื่น
- ไฮเบิร์ต,โดแนลด์ และบอห์น (Hiebert, Donald and Bohn, 1975 : 6 ) กล่าวว่าการสื่อสารเป็นกระบวนการที่มีความเคลื่อนไหวและความต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง เช่นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดค่านิยมทางสังคม เป็นต้น
- สมิตา บุญวาศ (2546 : 3 ) กล่าวว่า การสื่อสารเป็นการติดต่อส่ง สาระ เรื่องราว การสื่อสารที่ดี ทั้งที่เป็นนามธรรม เช่น ความรัก ความรู้ ความโกรธ ฯลฯ และที่เป็นรูปธรรม เช่น การไหว้ ของขวัญ ภาพ ฯลฯจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยที่ผู้ส่งจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่ม และผู้รับเป็นบุคคลเดียวหรือกลุ่มก็ได้ การสื่อสารไม่ได้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์เท่านั้น ในสังคมของสัตว์ต่าง ๆ ก็มีการสื่อสารกัน
- กิดานันท์ มลิทอง (2548 : 34) กล่าวว่า การสื่อสารหมายถึงการถ่ายทอดเรื่องราวการแลกเปลี่ยนความคิด การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง “ระบบ” (เช่น ระบบโทรศัพท์)เพื่อการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การสื่อสารยังเป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่าง ๆ
ดังนั้นจึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การสื่อสาร องค์ประกอบ การสื่อสารเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูลความรู้ เหตุการณ์ต่าง ๆ จากผู้ส่ง ซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน ไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ผู้รับได้รับทราบข่าวสารร่วมกัน
ลักษณะของการสื่อสาร
การสื่อสารของมนุษย์ในแต่ละวาระและสภาพการณ์ จะมีลักษณะของการติดต่อที่แตกต่างกันออกไป การสื่อสารมีอะไรบ้าง ในสถานการณ์หนึ่งอาจใช้วิธีการ รูปแบบ และประเภทของการสื่อสารอย่างหนึ่ง แต่อาจใช้วิธีการรูปแบบ และประเภทของการสื่อสารอีกอย่างหนึ่งในอีกสถานการณ์ก็ได้ตามความเหมาะสม
วิธีการของการสื่อสาร
วิธีการของการสื่อสาร แบ่งออกได้เป็น 3 วิธี คือ
- การสื่อสารด้วยวาจา หรือ “วจนภาษา” (Oral Communication) เช่น การพูดการร้องเพลง เป็นต้น
- การสื่อสารที่ไม่ใช่วาจา หรือ “อวจนภาษา” (Nonverbal Communication)และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่นการสื่อสารด้วยท่าทางภาษามือ และตัวอักษร เป็นต้น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร
- การสื่อสารด้วยจักษุภาษา หรือ การเห็น (Visual Communication) เช่นการสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ หรือโดยการใช้สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่นลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
- การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้ส่งและผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบต่อกันได้ทันที เช่น การสื่อความหมายทาง การอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ ชมโทรทัศน์ ผู้รับไม่สามารถตอบสนองให้
ผู้ส่งทราบได้ในทันที (Immediate Response) หลักการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง แต่อาจจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับ (Feeback) ไปยังผู้ส่งได้ในภายหลัง เช่น การส่งจดหมาย การส่งอีเมล หรือการส่ง SMS เป็นต้น อย่างไรก็ตาม วิทยุ และโทรทัศน์ ในปัจจุบันได้เปิดโอกาสให้ผู้ฟังหรือชมทางบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมในรายการต่างๆ เช่น มีการให้ผู้ฟังโทรศัพท์ไปแสดความคิดเห็นหรือตอบปัญหาได้ทันทีกับผู้จัดรายการ ลักษณะนี้จึงกลายเป็นการสื่อสารสองทาง - การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) เป็นการสื่อความหมายที่ผู้รับสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ในทันทีโดยผู้ส่งและผู้รับอาจอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้แต่ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาหรือโต้ตอบกันไปมาได้ โดยต่างฝ่ายต่างผลัดกันท าหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่ง และผู้รับในเวลาเดียวกัน ทักษะการสื่อสาร เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์ การสนทนาสดบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร